วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมา



ประวัติความเป็นมา
      ในปี ค.ศ.1968 นายแพทย์คูเปอร์ ได้คิดค้นวิธีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ โดยได้เขียนหนังสือเรื่องความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ต้องอาศัยอากาศ (Aerobics Exercise) ทำให้บุคคลทั่วไปสนใจและนำไปฝึกปฎิบัติอย่างแพร่หลาย
      ในปี ค.ศ.1969 จูดี้ เชฟฟาร์ด มิสเซตต์ได้นำการออกกำลังกายแบบแอโรบิกมาประยุกต์โดยทำการเต้นเเจส มาผสมผสานกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เอกเซอร์ไซด์ใส่จังหวะการเต้นรำของจังหวะเเจสเข้าไปทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนชาวอเมริกันกันอย่างแพร่หลาย
      ต่อมาในปี ค.ศ.1979  แจ๊คกี้ โซเรนสัน ได้พัฒนาการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเอกเซอร์ไซด์มาประยุกต์ให้เข้ากับจังหวะดนตรีที่สนุกสนาน เร้าใจ รวมทั้งมีการเคลื่อนไหว ซึ่งนำหลักการของวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้าประกอบการออกกำลังกายจึงเป็นที่นิยมและรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อว่า แอโรบิกดานซ์ (Aerobics Dance)
      ในปี ค.ศ.1984 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 23 ที่รัฐลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในพิธีเปิดการแข่งขันได้ทำการเต้นแอโรบิกดานซ์มาแสดงในพิธีเปิด ทำให้เป็นที่รู้จัก แพร่หลายไปทั่วโลก
      สำหรับการเต้นแอโรบิกดานซ์ในประเทศไทยได้มีการทำการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์เฉพาะในสถานบริหารกายของเอกชนในห้องอออกกำลังกายของโรงแรมเท่านั้น ผู้ที่สนใจจะเต้นแอโรบิกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากต่อมาในปี พ.ศ.2519 อาจารย์ สุกัญญา มุสิกวัน ได้ทำกิจกรรมเข้าจังหวะ การบริหารประกอบดนตรี และยิมนาสติกมาประยุกต์เข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า Slimnastic ซึ่งมาจากคำว่า Slim+Gymnastic  ต่อมาในปี พ.ศ.2523 อาจารย์สุกัญญา พาณิชเจริญนาม ทำการเปิดสอนวิชาแอโรบิกดานซ์ให้กับครูทุกสถาบันทั่วประเทศ ณ โรงยิม มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ พลศึกษาในสนามกีฬาแห่งชาติ จากนั้นมาการจัดการสอนวิชาแอโรบิกดานซ์จึงได้แพร่หลายตามสถานศึกษาทุกระดับ ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ต่อมาในปีพ.ศ.2546 กระทรวงสาธารณะสุข ได้มีนโยบายให้ประชาชนได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงจึงให้มีการออกกำลังกายกันทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ทั่วประเทส จึงได้รับความนิยมแพร่หลายกันทั่วประเทศ
หลักการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ 
      เป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวางทุกเพศ ทุกวัย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นการออกกำลังกายที่สนุกสนาน สามารถออกกำลังกายได้ทุกสถานที่ ทำได้ไม่ยากนัก ขอให้มีเพียงเสียงหรือจังหวะประกอบการออกกำลังกายก็พอแล้ว  ผู้ที่ทำให้การออกกำลังกายแอโรบิกดานซ์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายของคนทั้งในยุโรป และเอเชียก็คือ แจ๊คกี้ โซเรนสัน เป็นชาว อเมริกัน ที่ทำให้รูปแบบการออกกำลังกายเป็นที่น่าสนใจ และสนุกสนาน โดยนำท่าออกกำลังกายและท่าเต้นรำมาเต้นให้เข้ากับจังหวะดนตรี
      แอโรบิกดานซ์ คือ การนำเอาท่าบริหารแบบต่างๆมาบวกกับการเคลื่อนไหวพื้นฐาน บวกกับทักษะการเต้นรำ และนำมาผสมผสานกันอย่างกลมกลืนแล้วนำมาประกอบจังหวะหรือเสียงดนตรี เพื่อนำมาเป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย
      จุดเด่นของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ คือ มุ่งฝึกระบบการหายใจความสามารถในการจับออกซิเจนสูงสุด ซึ่งเป็นผลดีในการสร้างความอดทนให้แก่ร่างกายอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับอีกอย่างหนึ่ง คือ ทำให้รูปร่างและทรวดทรงดีขึ้น ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้รับความสนุกสนาน ร่าเริง หายจากความตึงเครียด



วัตถุประสงค์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์
      จุดมุ่งหมายสำคัญของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์อยู่ที่เน้นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ให้มีการเต้นอัตราการเต้นของชีพจรให้ถึงเป้าหมาย คือ 70-80 % ของอัตราการเต้นชีพจรสูงสุด และต้องเต้นติดต่อกันประมาณ 25-30นาที จึงจะช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางร่างกายให้ดีขึ้น (สมรรถภาพทางร่างกาย หมายถึง ความสามารถในการประกอบกิจการทางกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิต ปอด หัวใจ ความเร็วในการทำงานของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความคล่องตัว) ควรจะเต้นให้หนักพอ และติดต่อกันประมาณ 25-30 นาที ควรจะเต้นประมาณสัปดาห์ละ วัน
ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์
1.ประโยชน์ทางสรีรวิทยา
   1.1 เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของระบบไหลเวียน
   1.2 เพิ่มความแข็งแรง
   1.3 เพิ่มความทนทาน
   1.4 เพิ่มความอ่อนตัว
   1.5 ฝึกหัดการประสานงานของกล้ามเนื้อและประสาท
   1.6 ปรับปรุงบุคลิกภาพ
2.ประโยชน์ทางจิตวิทยา
   2.1 ลดความเครียดทางจิตวิทยา ผ่อนคลายความเครียดและมีสมาธิ
   2.2 ช่วยให้มีความรับรู้เกี่ยวกับตนเองด้านความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออกมากขึ้น
   2.3 มีความสนุกสนานและมีแรงจูงใจที่จะทำให้ออกกำลังกายได้นาน ได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายอย่างเต็มที่
   2.4 ช่วยปลูกฝังให้มีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย
3.ประโยชน์ทางสังคม
   3.1 มีสังคมกับผู้อื่น
   3.2 มีรูปร่างที่ดี และทำให้กล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในการเข้าสังคม
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเต้นแอโรบิกดานซ์
1.ชุดกายบริหาร
      ไม่ว่าจะเป็นเสื้อหรือกางเกงจะต้องเป็นผ้ายืดเพื่อสะดวกในขณะที่เคลื่อนไหว คล่องตัว ไม่ควรใช้เสื้อผ้าที่ใหญ่หรือหนา เทอะทะ ควรจะเป็นผ้าฝ้ายเพื่อจะช่วยซับเหงื่อ และมีการระเหยของเหงื่อได้ดีกว่าผ้าใยสังเคราะห์ ชุดกายบริหารที่เป็นกางเกงติดกับเสื้อ(Lotards) จะช่วยให้ผู้สวมใส่มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายขณะบริหาร เสื้อจะไม่ลื่นหลุดขึ้นมาเหนือเอว
2.เสื้อชั้นใน
      ให้รัดพอดีรอบๆทรง ส่วนที่เป็น cup ถ้าเป็นชนิดที่ไม่มีตะเข็บ ที่ผลิตออกมาโดยปั้มออกจากพิมพ์ไม่ควรใส่ เพราะยกทรงแบบเต็มตัว เมื่ออกกำลังกายแล้ว จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังและใต้อกเคลื่อนไหวได้ยาก
3.กางเกงใน
      ไม่ควรใส่แบบที่รัดมาก ที่เรียกว่า สเตย์ เพราะเวลาออกกำลังกาย กล้ามเนื้อส่วนนั้น เคลื่อนไหวได้ยาก ทำให้โลหิตบริเวณนั้นไหลเวียนไม่สะดวก เกิดผลเสียแก่อวัยวะสืบพันธุ์ในอุ้งเชิงกรานด้วย ควรเลือกใช้กางเกงในที่มีความกระชับพอดี ถ้าเป็นผ้าที่ผสมฝ้ายมากยิ่งดี
4.ถุงเท้า
      หาที่มีส่วนผสมของฝ้ายให้มาก ซึ่งจะช่วยซับเหงื่อ เพิ่มความนุ่มให้แก่เท้าในทางที่มีการลงน้ำหนักตัวและไม่ลื่นไถลเหมือนถุงเท้าที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์
5.รองเท้า
      เป็นรองเท้าที่เหมาะกับเท้าตัวเองไม่ใหญ่และเล็กเกินไป ต้องเป็นรองเท้าผ้าใบมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น สามารถรับแรงกระแทกได้ดี การใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับการออกกำลังกายนั้นอาจมีผลกระทบต่อข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า และเท้าได้ ซึ่งในสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาในต่างประเทศพบว่ารองเท้าเป็นสาเหตุของการอักเสบข้างต้นถึง 80 -90 %
6.ดนตรี
      ดนตรีที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมนั้นจะเลือกใช้เเผ่นเสียง ซีดี ตลับเทป หรือวิทยุเทปก็ได้ ตามอัตภาพ
ขั้นตอนของการออกกำลังแบบแอโรบิกดานซ์
1.ขั้นอบอุ่นร่างกาย หรือ วอมอัพ (Warming Up)
      เป็นการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อ หัวใจ ข้อต่อ และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวให้พร้อมที่จะทำงาน ช่วงนี้จะใช้เวลาบริหารประมาณ 15-25%ของเวลาฝึกทั้งหมด ท่าที่ใช้ฝึกในขณะนี้จะเป็นการฝึกเพื่อความอ่อนตัว โดยการพับตัวไปด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้าง อาจจะทำการยืด เอน ข้อต่อร่างกาย(Stretching Exercise) ซึ่งจะช่วยป้องกัน และลดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย อย่ายืดกล้ามเนื้ออย่างรุนเเรง หรือทำด้วยจังหวะที่รวดเร็วจนกลายเป็นการกระตุก ซึ่งจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้
2.ขั้นปฏิบัติงาน หรือ ระยะแอโรบิก (Training Heart Rate)
      ระยะแอโรบิก ในช่วงแรกเป็นการบริหารท่าเร็ว และหนักติดต่อกันส่วนมากจะเน้นการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง สะโพก ลำตัวด้านข้าง แขน หัวไหล่ ซึ่งจังหวะดนตรีในช่วงนี้จะอยู่ระหว่าง 140-160 จังหวะต่อนาที จะเน้นให้บุคคลแต่ละคนสามารถพัฒนาการออกกำลังกายให้ถึงอัตราการเต้นหัวใจที่เป้าหมายได้ ช่วงหลังจะเป็นการเบาเครื่องลงเรื่อยๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เวลาที่ใช้ในช่วงนี้ จะแบ่งออกเป็น แบบ คือ
2.1 แบบ Aerobic Dance Routine เป็นการสร้างแบบแล้วเต้นตามรูปแบบและเวลาที่กำหนดจะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
2.2 แบบ Group Aerobic Dance เป็นแบบมีผู้นำ ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องทำตามผู้นำ จะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที
3.ขั้นคลูดาวน์ (Cool Down)
      ส่วนมากนิยมทำ  Floor Exercise โดยการเคลื่อนไหวช้าๆด้วยการเดิน และจบลงด้วยการทำ Stretching Exercise ยืดกล้ามเนื้อน่อง และอาจทำการยืดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั่วร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัวอีกครั้งหนึ่ง ประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง คือ การนำเอาของเสีย หรือ กรดแลกติก ที่เกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลังกายอยู่นั้นออกไปจากกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการหยุดเฉยๆ ในช่วงนี้จะใช้เวลาออกกำลังกาย  5-10 นาที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น